ไหล่ติด อีกหนึ่งอาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ไม่ใช่โรคร้ายที่รุนแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการหยิบจับวัตถุที่ต้องยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากปฏิบัติถูกวิธี หรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม ครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อไหล่ติดในเรื่องของอาการแต่ละระยะ การรักษา การปฏิบัติตน รวมถึงปัจจัยเสี่ยง
ข้อไหล่ติดยึด (Frozen Shoulder) คือ ภาวะที่มีการขยับข้อไหล่ได้น้อย โดยมักจะเริ่มจากน้อย ๆ เช่น ไม่สามารถยกไหล่ได้สุดหรือไขว่หลังได้สุด ต่อมาถ้าไม่ได้รับการรักษาจะเป็นมากขึ้นจนขยับได้น้อยหรือไม่ได้เลย สาเหตุข้อไหล่ติดยึด กสาเหตุหลักของข้อไหล่ยึดติด การอักเสบของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ข้อไหล่ ซึ่งเรียกว่า เยื่อหุ้มข้อไหล่ (Capsule) ปกติเยื่อหุ้มข้อไหล่จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดภาวะข้อไหล่ติดยึดขึ้น เยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวจะมีการอักเสบและหดตัวจนไม่สามารถยืดหยุ่นได้เหมือนเดิม ทำให้ขยับข้อไหล่ได้ลดน้อยลง และมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอ การกระแทกข้อไหล่ การขยับข้อไหล่เป็นเวลานาน การอักเสบของกล้ามเนื้อเอ็นโดยรอบข้อไหล่ สามารถนำไปสู่การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ได้ทั้งสิ้น เมื่อเกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ดังกล่าวก็จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะข้อไหล่ติดยึดในที่สุด
ข้อไหล่ติดจะพบได้น้อยในเด็กและผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีแต่จะพบได้มากในผู้ที่มีช่วงอายุ 40-70 ปีโดยเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย(โดยเฉพาะเพศหญิงในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป) และพบว่าผู้ที่ เป็นเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และโรคหัวใจมีโอกาสเกิดโรคข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติดกว่าครึ่งหนึ่งมักมีอาการปรากฏทั้งสองข้าง
ไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร?
เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
* ระยะปวด โดยจะมีอาการปวดมาก แม้ยกไหล่เพียงนิดเดียว ในระยะนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 2-9 เดือน
* ระยะข้อไหล่ติด โดยจะมีพิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลง มักจะมีอาการปวดตึงไหล่เมื่อขยับไหล่ใกล้สุด ทำให้มีปัญหาเรื่องการใช้งาน เช่น การรับปรปวดไหล่, ไหล่ะทานอาหาร อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า โดยผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ในระยะนี้นานแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ 2 เดือนไปจนถึง 1 ปีครึ่ง
* ระยะฟื้นคืนตัว เมื่อผ่านระยะติดมาแล้วจะเข้าสู่ระยะฟื้นคืนตัว โดยธรรมชาติจะรักษาตัวเอง อาจใช้เวลาตั้งแต่ 1-3 ปีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อไหล่ติด* โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับความอ้วน โรคไทรอยด์
* ผู้ที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เช่น ผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น* เคยประสบอุบัติเหตุที่ข้อไหล่ มีภาวะเส้นเอ็นบริเวณไหล่ฉีกขาด
การรักษาทางแพทย์แผนจีน การรักษาที่ได้ผลของแพทย์แผนจีนนั้นมีการรักษาร่วมกันทั้งฝังเข็ม, การกระตุ้นไฟฟ้า, การครอบแก้ว และการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน
การฝังเข็ม (Acupuncture) การรักษาด้วยวิธีฝังเข็มนั้นได้มีจุดฝังเข็มที่บ่งชัดว่าใช้กับอาการ ของโรคข้อไหล่ติด และมีการกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้ า โดยมากแล้วจะฝังทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีหลังจาก เอาเข็มออกแล้วจึงรักษาต่อด้วยการครอบแก้ว เป็นต้น
การครอบแก้ว (Cupping) คือ การใช้ถ้วยแก้วซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ โดยใช้ความร้อนขับไล่อากาศภายในถ้วยออกจนเกิดสูญญากาศขึ้นและรีบวางบริเวณจุดเส้นลมปราณบน ร่างกาย ถ้วยแก้วจะดูดกล้ามเนือขึ้นเพื่อกระตุ้นเลือดลมบริเวณตำแหน่งที่ถูกครอบแก้ว ทำให้ผิวหนัง บริเวณที่ครอบแก้วเป็นจ้ำๆอาจมีสีแดง, สีแดงคล้ำหรือบางสีออกอมม่วงเข้ม ซึ่งสีที่แสดงออกมาของ ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากภายในร่างกายเกิดการสะสมของของเสีย และเลือดที่ อุดตันภายในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดต่างกัน ซึ่งสีที่เกิดจากการทำครอบแก้วครั้งแรกอาจมีสีเข้ม พอทำครั้งที่2-3 ไปเรื่อยๆ ระดับความเข้มของสีจะลดลง ซึ่งนั่นแสดงถึงผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อดีขึ้น
วิธีบริหารหัวไหล่ด้วยตนเอง
1. ท่านิ้วไต่กำแพงยืนหลังตรงหันหน้าเข้าหากำแพง ยกแขนข้างที่ไหล่ติดขึ้นให้ศอกตึง ค่อยๆใช้นิ้วไต่กำแพงขึ้นไปเรื่อยๆ พร้อมกับเดินเข้าหากำแพงไต่ให้สูงเท่าที่ทำแล้วรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้ นับ1-20 โดยไม่กลั้นหายใจเวลานับ จากนั้นค่อยๆ ไต่กำแพงลง นับเป็น 1ครั้ง ทำ10ครั้ง สามารถแบ่งทำได้ ไม่จำเป็นต้องทำทีเดียว จากนั้นทำเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป็นหันสีข้างเข้าหากำแพง หน้ามองตรงไม่หันไปมองกำแพง ไต่ผนังเหมือนเดิม 10ครั้ง
2. ท่าดึงผ้าเอามือข้างที่ไหล่ติดไขว้หลังจับผ้าด้านหนึ่งไว้ แล้วพาดผ้าผ่านบ่าข้างที่ปกติ ใช้มือข้างที่ปกติจับผ้าอีกด้านหนึ่ง ค่อยๆดึงขึ้น ให้ไขว้ให้ได้มากที่สุดจนรู้สึกตึงเล็กน้อย ค้างไว้นับ1-20 จากนั้นค่อยๆผ่อนแรงดึงกลับท่าเดิม ทำ10ครั้ง จากนั้นทำเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนเป็นข้างที่ติดยกขึ้นทางด้านหน้าจับผ้าพาดผ่านหลัง ใช้มือข้างที่ปกติไขว้หลังมาจับผ้าอีกด้านนึงไว้ ค่อยๆดึง ทำ10ครั้ง
#เจินฟู่คลินิก #ฝังเข็ม #ครอบแก้ว #ไหล่ติด #ออฟฟิตซินโดรม #เล่นกอล์ฟ #ปวดแขน #ฝังเข็มลาดพร้าว #ฝังเข็มดีที่สุด #หมอฝังเข็ม #ฝังเข็มใกล้บ้าน
ติดต่อเจินฟู่คลินิก
🔴โลเคชั่นเจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน มี2สาขาคะ
👇👇👇
❤️สาขาโชคชัย4❤️
🏥โครงการ The Shelter จอดรถได้200 คัน
ถ. โชคชัย 4 เขตวังทองหลาง สะพานสอง กรุงเทพมหานคร โทร 0625966955
เปิดทุกวัน 10.00-20.00
location👇
Google map โลเคชั่นเจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน
https://goo.gl/maps/3YCsjtcc8sNYVhxJA
❤️สาขารามอินทรา❤️
อาคารศูนย์การค้า เดอะแจสรามอินทรา จอดรถได้200คัน
ห้อง A201A
ชั้น2 เลขที่87 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพ โทร 020389955
เปิดทุกวัน 10.00-20.00
Location 👇
http://bit.ly/45M80uW