You are currently viewing ฝังเข็มรักษา โรคเส้นเอ็นอักเสบ ข้อศอกด้านนอก “Tennis Elbow”

ฝังเข็มรักษา โรคเส้นเอ็นอักเสบ ข้อศอกด้านนอก “Tennis Elbow”

รู้เท่าทัน … โรคยอดฮิตในหมู่นักกีฬา…

❓โรคเส้นเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก หรือ Tennis Elbow เป็นภาวะที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อกับกระดูกบริเวณข้อศอกด้านนอก โดยมักพบในผู้ที่มีการใช้งานกล้ามเนื้อแขนอย่างหนักหรือซ้ำ ๆ เช่น การตีเทนนิส การทำงานที่ต้องใช้การจับหรือบีบเป็นเวลานาน อาการหลักของโรคนี้คือความเจ็บปวดที่ข้อศอกด้านนอก ซึ่งอาจลามไปยังแขนส่วนล่าง ทำให้การใช้งานแขนเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

✨หนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความสนใจและนิยมใช้คือ ฝังเข็มรักษา โรคเส้นเอ็นอักเสบ ซึ่งเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และกระตุ้นการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวดหรือการผ่าตัด

สาเหตุของโรค Tennis Elbow

Tennis Elbow เกิดจากการใช้งานแขนในลักษณะผิดปกติหรือมากเกินไป จนทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อศอกด้านนอกเกิดการอักเสบ ตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยกระตุ้น ได้แก่:

  1. การเล่นกีฬา เช่น เทนนิส กอล์ฟ หรือแบดมินตัน
  2. การทำงานที่ต้องจับ บิด หรือยกของหนักบ่อย ๆ เช่น การใช้เครื่องมือช่างหรือพิมพ์งาน
  3. การทำกิจกรรมเดิมๆซ้ำๆ เช่น การยกน้ำหนักที่ไม่ถูกท่า

☯️ ซึ่งในทางการแพทย์แผนจีนนั้นจัดอยู่ในกลุ่มของโรค “伤筋” หรือ “การบาดเจ็บของเส้นเอ็น”  ข้อศอกเป็นทางผ่านของเส้นลมปราณมือหยางหมิงของลำไส้ใหญ่ (手阳明大肠经) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการไหลเวียนของชี่ และเลือด บริเวณแขนด้านนอก เมื่อเกิดการใช้งานข้อศอกด้านนอกอย่างหนักหรือเป็นระยะเวลานาน  จะทำให้เส้นลมปราณและเส้นเอ็นที่เกี่ยวข้องได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ อาการปวด และเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว

พยาธิสภาพตามระยะของโรค

ระยะเฉียบพลัน

  • อาการหลัก: ปวด บวม แดง และร้อนบริเวณที่บาดเจ็บ

ระยะเรื้อรัง

  • อาการหลัก: การไหลเวียนของชี่และเลือดติดขัดเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อศอกเกิดการยืดติดกัน (Adhesion) มีอาการปวด แต่ไม่มีอาการบวม แดง และร้อน

อาการของ Tennis Elbow

  • เจ็บปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก โดยเฉพาะเมื่อใช้งานแขน
  • อาการปวดลามไปที่แขนส่วนล่างหรือข้อมือ
  • การจับหรือยกของรู้สึกไม่ถนัดและมีอาการปวดมากขึ้น
  • การบิดข้อมือ เช่น การเปิดฝาขวดน้ำ อาจทำให้อาการรุนแรง

การตรวจร่างกายพิเศษ

1.Cozen’s test

เป็นการสร้างแรงกดและกระตุ้นกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis เพื่อดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าคว่ำมือ และกำมือ ผู้ตรวจใช้นิ้วโป่งกดบริเวณปุ่มข้อศอกด้านนอก มืออีกข้างดันมือของผู้ป่วยลง ต้านแรงกับผู้ป่วย หากผู้ปวยเจ็บบริเวณที่ข้อศอกด้านนอกแสดงว่าผลเป็นบวก

2.Mill’s test

เป็นการยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่เกาะบริเวณ Lateral Epicondyle เพื่อดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ โดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่ายืน งอข้อศอก 90 องศา คว่ำมือ กระดกข้อมือลง ผู้ตรวจใช้นิ้วโป้งกดบริเวณปุ่มข้อศอกด้านนอก มืออีกข้างดันมือผู้ป่วยลง จนศอกอยู่ในท่าเหยียดสุด หากผู้ปวยเจ็บบริเวณที่ข้อศอกด้านนอกแสดงว่าผลเป็นบวก

การฝังเข็ม รักษา Tennis Elbow ได้อย่างไร❓

  • ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวด : การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและพลังงานบริเวณข้อศอก ซึ่งช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กระตุ้นการฟื้นฟูเนื้อเยื่อ : ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ทำให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ปลอดภัยและไม่ต้องพึ่งยา : การฝังเข็มเป็นวิธีธรรมชาติที่ไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด ลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงจากยา เช่น อาการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ปรับสมดุลร่างกายโดยรวม : นอกจากช่วยบรรเทาอาการที่ข้อศอกแล้ว การฝังเข็มยังช่วยปรับสมดุลพลังงานในร่างกาย ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น

⚠️การป้องกันการเกิดโรค

  • เสริมความแข็งแรง: บริหารกล้ามเนื้อแขน ข้อมือ และยืดเหยียดก่อน-หลังทำกิจกรรม
  • ใช้อุปกรณ์เหมาะสม: เลือกอุปกรณ์น้ำหนักพอดี หรือใช้สายรัดพยุงข้อศอก
  • พักข้อศอก: หยุดพักระหว่างทำกิจกรรมหนัก
  • หากปวด: ให้ประคบเย็น เพื่อลดการอักเสบ
  • ปรึกษาแพทย์: หากอาการไม่ดีขึ้นหลังดูแลตัวเอง

📍การบริหารเบื่องต้นสำหรับผู้ที่เป็นโรค Tennis elbow

1. การยืดกล้ามเนื้อ Extensor (ด้านหลังข้อมือ)

  • ท่าเริ่มต้น : ยื่นแขนที่มีอาการบาดเจ็บไปด้านหน้าให้ตรง ฝ่ามือคว่ำลง
  • วิธีทำ : ใช้มืออีกข้างจับหลังมือและกดลงเบา ๆ จนรู้สึกตึงบริเวณแขนด้านหลัง (บริเวณปลายแขน) ค้างไว้ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

2.การยืดกล้ามเนื้อ Flexor (ด้านหน้าข้อมือ)

  • ท่าเริ่มต้น : ยื่นแขนที่มีปัญหาไปด้านหน้าให้ตรง ฝ่ามือหงายขึ้น
  • วิธีทำ : ใช้มืออีกข้างจับปลายนิ้วและกดเบา ๆ ให้ข้อมือเหยียดขึ้น ค้างไว้ 15-30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

3.การงอและเหยียดข้อมือด้วยน้ำหนักเบา

  • อุปกรณ์ : ใช้ดัมเบลขนาดเบา (0.5-1 กิโลกรัม) หรือขวดน้ำเล็ก
  • วิธีทำ : วางปลายแขนบนโต๊ะหรือขอบเก้าอี้ ให้ข้อมืออยู่บริเวณขอบโต๊ะ ฝ่ามือหงายขึ้น จับน้ำหนัก ยกข้อมือขึ้น-ลงช้า ๆ ทำ 10-15 ครั้งต่อรอบ วันละ 2-3 รอบ

4.การฝึกหมุนแขน (Forearm Supination and Pronation)

  • อุปกรณ์ : ใช้ดัมเบลเบาหรือวัตถุคล้ายค้อน
  • วิธีทำ : จับน้ำหนักให้ปลายแขนวางราบบนโต๊ะ ข้อมืออยู่บริเวณขอบโต๊ะ หมุนแขนให้ฝ่ามือหงายขึ้น (supination) และหมุนกลับให้ฝ่ามือคว่ำลง (pronation) ทำซ้ำ 10-15 ครั้งต่อรอบ

5.การฝึกบีบลูกบอล (Grip Strengthening)

  • อุปกรณ์ : ใช้ลูกบอลยางขนาดเล็ก (เช่น ลูกบอลบริหารมือ)
  • วิธีทำ : บีบลูกบอลให้เต็มกำลัง ค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วผ่อน ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง วันละ 2-3 รอบ

6.การนวดและกดจุด (Massage and Trigger Point Release)

  • วิธีทำ : ใช้นิ้วมือกดเบา ๆ บริเวณที่รู้สึกปวดใกล้ข้อศอกเป็นเวลา 1-2 นาที สามารถใช้ลูกบอลนวดกล้ามเนื้อหรืออุปกรณ์ช่วยเพื่อคลายความตึงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

การฝังเข็มเป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก หรือ Tennis Elbow ด้วยคุณสมบัติในการลดอาการปวด ลดการอักเสบ และช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหาย การรักษาด้วยการฝังเข็มสามารถปรับสมดุลของร่างกายโดยรวม และเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงยาและการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ควรได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

“ไม่พึ่งยาแก้ปวด ไม่ผ่าตัด รักษาที่เจินฟู่คลินิก”

เจินฟู่คลินิก โดยแพทย์แผนจีน รักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ครอบแก้ว ยาจีน

ติดต่อเจินฟู่คลินิก

🔴โลเคชั่นเจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน มี2สาขาคะ
👇👇👇

❤️สาขาโชคชัย4❤️
🏥โครงการ The Shelter จอดรถได้200 คัน
ถ. โชคชัย 4 เขตวังทองหลาง สะพานสอง กรุงเทพมหานคร โทร 0625966955
เปิดทุกวัน 10.00-20.00
location👇
Google map โลเคชั่นเจิน ฟู่ คลินิก แพทย์แผนจีน
https://goo.gl/maps/3YCsjtcc8sNYVhxJA

❤️สาขารามอินทรา❤️
อาคารศูนย์การค้า เดอะแจสรามอินทรา จอดรถได้200คัน
ห้อง A201A
ชั้น2 เลขที่87 ถนนลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพ โทร 020389955
เปิดทุกวัน 10.00-20.00
Location 👇
http://bit.ly/45M80uW

ใส่ความเห็น