You are currently viewing ครอบแก้วรักษาโรคอะไร
การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น ทะลวงเส้นลมปราณ ขจัดเลือดคั่ง ลดอาการอักเสบและสลายบวม ระงับอาการเจ็บปวดได้ โดยโรคหรือภาวะที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการครอบแก้ว

ครอบแก้วรักษาโรคอะไร

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว

การครอบแก้ว (Cupping Therapy) เป็นการบำบัดรักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีนชนิดหนึ่ง โดยนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมกับใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังหรือกล้ามเนื้อขึ้นมา
การครอบแก้วทำให้มีการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปยังบริเวณนั้น ในทางสรีรวิทยา การครอบแก้วมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกลไก 2 ประการ ได้แก่ การกระตุ้นกลไกการอักเสบเฉพาะที่และเพิ่มการไหลเวียนของน้ำเหลือง
นอกจากนี้การครอบแก้วมีผลให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทและกระตุ้นปลายประสาทรับสัมผัสบางชนิด ทำให้มีฤทธิ์ลดปวด จึงทำให้มีการนำการครอบแก้วมาใช้รักษาอาการปวดต่างๆ ซึ่งจะช่วยบำบัดรักษาอาการป่วยได้หลากหลาย ทั้งการปวดในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยการไหลเวียนโลหิต การอักเสบ การผ่อนคลายและเพื่อสุขภาพที่ดี รวมไปถึงเป็นการลงลึกไปถึงชั้นเนื้อเยื่อหรือช่วยในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายไว้ว่า ความร้อนจากไฟขณะทำการครอบจะช่วยขับไล่ความเย็นที่อยู่ในเส้นลมปราณ ความเย็นมีกลไกของโรคทำให้การไหลเวียนของลมปราณติดขัดเมื่อเกิดการติดขัดก็จะทำให้เกิดอาการปวด เมื่อครอบเเก้วเเล้วลมปราณภายในร่างกายจะไหลเวียนเป็นไปอย่างปกติ อาการปวดจึงหายไป
แพทย์แผนจีนเชื่อว่า อาการเจ็บปวดต่างๆ มีที่มาจาก“การอุดตันของพลังชี่” ซึ่งเกิดขึ้นในเส้นเลือด หรือเส้นลมปราณบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนไม่ดีและเกิดอาการเจ็บปวดตามมาโดยความหมายของ “พลังชี่” ของแพทย์จีนที่ว่านี้หมายถึง ความเย็น ความชื้นต่างๆ และของเสียในร่างกาย
การครอบแก้วจึงเปรียบเหมือนการดูดพิษ หรือล้างพิษออกจากร่างกาย เพื่อให้เลือดและลมปราณไหลเวียนได้ดี ไม่ติดขัด เมื่อทุกอย่างกลับเป็นปกติ อาการเจ็บปวดจึงหายไป

เมื่อมองตามหลักวิทยาศาสตร์การครอบแก้วคือการใช้สูญญากาศ ครอบไปยังบริเวณผิวหนัง การที่ผิวหนัง ถูกดูดด้วยแก้วที่เป็นสูญญากาศจะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นอย่างมาก เป็นการปั๊มเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการครอบเเก้ว หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้น นำมาสู่การที่เนื้อเยื่อได้รับเลือดออกซิเจนมากขึ้น กระบวนการซ่อมแซมจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อีกหนึ่งวิธีของการครอบแก้วที่นิยมใช้กันคือ การครอบแก้วพร้อมกับการเดินแก้ว ลากไปตามแนวเส้นลมปราณหรือตามกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เป็นการยืดกล้ามเนื้อ (Muscle) และ พังผืด (Fascia) ที่ระดับผิว (Superficial) ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวดจาก กลุ่มโรคกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

ครอบแก้วรักษาโรคอะไรได้บ้าง ?
การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น ทะลวงเส้นลมปราณ ขจัดเลือดคั่ง ลดอาการอักเสบและสลายบวม ระงับอาการเจ็บปวดได้ โดยโรคหรือภาวะที่สามารถบำบัดรักษาด้วยการครอบแก้ว ได้แก่

* โรคทางกระดูกและข้อ เช่น ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ไหล่ติด ปวดข้อศอก ข้อต่อต่างๆ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดส้นเท้า ปวดข้อเท้า เป็นต้น

* โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น

* โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร ท้องผูก ปวดท้อง เป็นต้น

* โรคระบบหมุนเวียนเลือด ความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง เป็นต้น

* โรคระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า อัมพาตบนใบหน้า เป็นต้น

* โรคสตรี เช่น ปวดท้องประจําเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ตกขาว เป็นต้น�
การครอบแก้วตามตำแหน่งที่เจ็บปวด หรือแนวเส้นลมปราณ สามารถ “ขับพิษ” รักษาโรคระบบต่างๆ ของร่างกายได้ ซึ่งประโยชน์ของการครอบแก้วไม่ธรรมดาทีเดียว สามารถรักษาโรคและอาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะจากการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ปวดหลัง หรือออฟฟิศซินโดรม ซึ่งพบว่า การครอบแก้วให้ผลดีและมีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาโรคหรือภาวะได้หลากหลายชนิด ทําให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาท ฮอร์โมน และทําให้ระบบหมุนเวียนเลือดสมดุล ไม่ติดขัดและช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย

ประเภทของการครอบแก้ว
1. การครอบแก้วแบบครอบทิ้งไว้บนผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดจากความเย็น ปวดจากร่างกายเสียสมดุล หรือปวดเฉพาะที่
2. การครอบแก้วแบบเคลื่อนไหวหรือการเดินถ้วย (โจ่วก้วน) เพื่อรักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด และอาการชา
3. การครอบแก้วแบบดึงเร็ว (ส่านก้วน) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดและชาที่ผิวหนัง หรือสมรรถภาพ (ทางร่างกาย) เสื่อมถอย
4. การครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื่อลั้วป๋าก้วน) ใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง รวมถึงอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
5. การครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็มและครอบแก้วควบคู่กัน

* แรงดูดสุญญากาศภายในครอบแก้วระหว่างที่ครอบ เกิดการดูดผิวหนัง เส้นประสาท หลอดเลือด และกล้ามเนื้อของผู้เข้ารับการบำบัดขึ้นมาทำให้มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมน การคลายตัวและหดตัวของหลอดเลือด ระบบไหลเวียนเลือด
* ผลจากแรงดันของการครอบแก้ว ทำให้เกิดการไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นอย่างมาก หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้นและแตกออก เม็ดเลือดแดงแตก กระตุ้นการปล่อยฮีโมโกลบินสู่ร่างกาย กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว ระบบภูมิคุ้มกันจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันได้รับการกระตุ้น เซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้าผลัดตัวออก
* ความร้อนจากครอบแก้ว ทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นขยายตัว ลดความตึงตัวของหลอดเลือด และเปลี่ยนแปลงการดูดซึมของเนื้อเยื่อ ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนดีขึ้น

ครอบแก้วทำอย่างไร ?
แพทย์สอบถามอาการผู้ป่วยและจับชีพจร (แมะ) เพื่อวินิจฉัยโรค จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยใช้แก้วสีใสปลอดเชื้อ อาศัยความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี

* การครอบแก้ว คือ ถ้วยแก้วกระบอกสุญญากาศซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์
* ใช้ความร้อนขับไล่อากาศภายในถ้วยออกจนเกิดสูญญากาศขึ้น
* วางบริเวณจุดเส้นลมปราณบนร่างกาย
* ถ้วยแก้วจะดูดกล้ามเนื้อขึ้นเพื่อกระตุ้นเลือดลมบริเวณตำแหน่งที่ถูกครอบแก้ว
* ทำให้ผิวหนังบริเวณทครอบแก้วเป็นจ้ำๆ สีแดง สีแดงคล้ำบางสีออกอมม่วงเข้ม
* การทำครอบแก้วไม่ควรทิ้งไว้นาน เกิน 10 นาที เนื่องจากอาจทำให้ผิวหนังเกิดการบาดเจ็บได้
* ซึ่งสีที่แสดงออกมาของผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน คือ เกิดการสะสมของเสีย และเลือด ที่อุดตันภายในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวด
* สีในการทำครอบแก้วครั้งแรกอาจมีสีเข้มในระดับ 10
* พอทำครั้งที่ 2-3 ไปเรื่อยๆ ระดับความเข้มของสีจะลดลง ซึ่งนั่นแสดงถึงผู้ป่วยมีอาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อดีขึ้น

ก่อนการทำครอบแก้ว
ก่อนทำการครอบแก้ว ควรเตรียมตัวให้พร้อมโดยการรับประทานอาหารตามปกติ ควรรับประทานอาหารมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานอาหารอิ่มจนเกินไป หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ตามปกติ

ทั้งนี้การครอบแก้วไม่เหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีอาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง ซึ่งระยะเวลาในการบำบัดรักษา ขึ้นอยู่กับอาการและดุลยพินิจของแพทย์

ข้อควรระวังหลังการครอบแก้ว
* หลังครอบแก้วอาจเกิดรอยเป็นจ้ำๆ ได้แก่ เกิดรอยแดง ม่วง ช้ำ ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่ผิวหนังในบริเวณที่มีการครอบแก้ว และสีของรอยจะบ่งบอกอาการของโรคต่างกัน รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5 – 7 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ว่าการไหลเวียนของลมปราณและเลือดดีมากน้อยอย่างไร ไม่มีอันตรายและสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหาย
* รอยเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทายา บางรายอาจมีระบมได้ในวันรุ่งขึ้น หากเป็นมากอาจ มีไข้ต่ำๆ การบรรเทาควรใช้ผ้าอุ่นๆประคบ หรือทานยาพาราเซตามอล ลดไข้ลดปวดได้
* นอกจากนี้ไม่ควรอาบน้ำทันที ควรงดอาบน้ำหรือตากแอร์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากครอบแก้ว
* หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ควรดื่มน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 วัน เพราะการดื่มน้ำอุ่นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกได้โดยง่าย
* ควรพักผ่อนหลังจากครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
* อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถามหรือมาพบแพทย์ เช่น มีอาการบวม แดง แสบร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดครอบแก้วหรือมีไข้สูงย

โดยเฉลี่ยสามารถครอบแก้วได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง ร่วมกับการฝังเข็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

#ฝังเข็ม #ครอบแก้ว #เจินฟู่คลินิก #ปวดคอบ่าไหล #ปวดหลัง #ปวดเอว #เล่นกอล์ฟ #ปวดแขน #ฝังเข็มลาดพร้าว #ฝังเข็มดีที่สุด #หมอฝังเข็ม #ฝังเข็มใกล้บ้าน

ใส่ความเห็น